วันอาทิตย์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2555

วันเสาร์ที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2555

!!!!!!!!!ชีท ดร.ภูริชญาฯ ดุลยภาพระหว่างองค์กรใช้อำนาจมหาชน ครับ

http://www.mediafire.com/view/?cw641u85gfqiqo0

!!!!!!!!!ชีท ดร.ภูริชญาฯ ดุลยภาพระหว่างองค์กรใช้อำนาจมหาชน ครับ

ที่ ดร.ภูริชญาฯ สอนวันนี้(๑๖ มิ.ย.๒๕๕๕)

http://www.mediafire.com/view/?884acqjzy9a6m6v


คำบรรยายดร.ภูริชญา16/6/55 จากฝ่ายวิชาการ

คำบรรยายดร.ภูริชญา16/6/55
@@ทบทวนเมื่อวันที่ ๑๕ มิ.ย.๒๕๕๕
- การบริการสาธารณะคือ การประสานดุลยภาพกับประโยชน์สาธารณะ
- หลักเกณฑ์ของ รัฐธรรมนูญ ไม่ได้บัญญัติในเรื่องดุลยภาพแต่อย่างใด ทำให้ฝ่ายตุลาการเข้าในส่วนของฝ่ายนิติบัญญัติ (ท่านอาจารย์ยกตัวอย่างของกรณีนายกสมัครถูกพ้นจากการเป็นนายกฯด้วยการเป็นลูกจ้างแบบง่าย)
- ต้องเคารพเสียงข้างมาก
อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย
- ระบอบประชาธิปไตย - อำนาจสูงสุดในการปกครองอยู่ที่ประชาชน , ประชาชนเป็นเจ้าของรัฐบาล ล้มเลิกได้ , ประชาชนต้องมีหลักประกันสิทธิและเสรีภาพ , เน้นความเท่าเทียมกันของมนุษย์ , เชื่อฟังเสียงข้างมาก แต่ก็รับฟังเสียงข้างน้อย , ไม่เลือกปฏิบัติ , ต้องชอบธรรม (เหตุผล/ความถูกต้อง , ต้องมีการตรวจสอบการใช้อำนาจได้
- การไม่ยอมรับการตรวจสอบของอำนาจรัฐ มาตรา ๓๖,๓๗
- อาจารย์พูดถึงวงจรอุบาทว์ ในรื่องของการยึดอำนาจ ที่มีเกิดขึ้นตลอดเวลา
- การพัฒนาของทฤษฏีการปกครอง อำนาจการปกครองเป็นของรัฐ อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชน
- ผลของทฤษฏีอำนาจอธิปไตย เป็นของปวงชน แต่ไปเขียน รธน.ว่าการเลือกตั้งเป็นหน้าที่ไม่ใช่สิทธิ
- การมอบอำนาจของราษฏร์ให้แก่ผู้แทนราษฏร์ ผู้แทนฯจะต้องอยู่ภายใต้อาณัติของราษฏร์ ตามอำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชน แต่แตกต่างจาก อำนาจอธิปไตยเป็นของรัฐ ถ้าหากใช้อำนาจอธิปไตยเป็นของรัฐ (ของชาติ) สส.ไม่อยู่ภายใต้อาณัติของประชาชน ตัวอย่าง มาตรา ๑๒๒ สส. และ สว. ไม่อยู่ความผูกมัดแห่งอาณัติ มอบหมายหรือความครอบงำใดๆ เป็นการแสดงออกถึงการใช้ทฤษฏีอำนาจอธิปไตยที่ไม่ใช่อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชน (ขัดกับมาตรา ๓)
- รุสโซ พูดถึง อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนขาวไทย กฎหมาย คือ เจตจำนงค์ของประชาชนในชาติซึ่งแสดงออกร่วมกัน General Will

@@๒.ปัญหาการพัฒนาการในเรื่องกฎหมายมหาชน
-๒.๑ การปฏิวัติรัฐประหาร
-- การเขียนกฏหมายเช่น ตาม รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว พ.ศ.๔๙ มาตรา ๓๗ บรรดาการ กระทำทั้งหลายที่ได้กระทำเนื่องจากยึดและควบคุมอำนาจปกครอง เมื่อวันที่ ๑๙ ก.ย.๒๕๕๕ ของหัวหน้าและคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย รวมถึงการกระทำของบุคคลที่เกี่ยวเนื่องกันกับการกระทำดังกล่าวของผู้ที่ได้รับมอบหมายจากหัวหน้าหรือคณะปฏิรูปการปกครองฯ ไม่ว่าเป็นการกระทำเพื่อให้มีผลบังคับในการนิติบัญญัติ ทางบริหาร หรือ ทางตุลาการ รวมถึงการลงโทษหรือการบริหารราชการ หากการกระทำนั้นผิดต่อกฎหมายให้ผู้กระทำพ้นจากความรับผิด
เป็นการเขียนกฎหมายที่ไม่ถูกต้อง
-- สภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ แจ้งว่า ไม่มีการบรรจุเรื่องการพัฒนาในเรื่องการศึกษาให้อยู่ในแผนเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ทำให้เกิดปัญหาความเลื่อมล้ำของคนในชาติ
-- ปัญหาการปฏิวัติรัฐประหาร ล้มล้างรัฐธรรมนูญ ทำให้รัฐธรรมนูญที่เป็นประชาธิปไตยสิ้นสุดลง
-- รัฐธรรมนูญ (ชั่วคราว) พ.ศ.๒๕๔๙ , ๒๕๕๐ ขัดต่อหลักนิติรัฐ หลักนิติธรรม
-- รัฐบาลมีหน้าที่ในการแก้ปัญหาต่างๆ เพราะว่ารัฐบาลมีอำนาจ เครื่องมือ มีรัฐสภาและมีศาล
-- วงจรอุบาทว์ เอากติกาที่ชั่วร้ายมาเขียนเป็นกฎหมาย เป็น WILL ทำให้รัฐธรรมนูญที่ไม่ดี
-- ประเด็นของมาตรา ๖๘ วรรคท้าย "บุคคลใดจะใช้สิทธิและเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตย เพื่อให้มาซึ่งอำนาจการปกครองศาลรัฐธรรมนูญ อาจสั่งยุบพรรคการเมืองได้" มีการขยายฐานของการยื่นคำร้อง (มาจากฐาน รธน.๔๐ ) เจตนารมณ์คือ ห้ามปฏิวัติรัฐประหาร เพราะถือว่าเป็นการล้มล้างการปกครอง เป็นเรื่องของการที่นำเอากฎหมายมาใช้ผิดลักษณะการใช้ (อาจารย์ยกตัวอย่างเรื่อง ศาลรัฐธรรมนูญแจงว่า มีคำสั่งให้รอการลงมติ เนื่องจากเป็นการ "ถ่วงดุลอำนาจ" ซึ่งเป็นเรื่องของการเข้าใจผิด
-- รธน. ๒๙๑ การแก้ไขเพ่ิมเติมรัฐธรรมนูญ สามารถแก้ไขหลายมาตราได้ ** ยกตัวอย่างในการเลือกตั้งคณะกรรมการต่างๆ ที่ให้ฝ่ายตุลาการเข้าไปก้าวก่ายในฝ่ายนิติบัญญัติ
-- นักกฎหมายมหาชนส่วนใหญ่ค้าน - นายกฯสมัครเป็นลูกจ้าง , เลือกตั้งหันหน้าเข้าคูหา , การรับคำร้องกรณีให้รอการลงมติวาระการแก้ไขรัฐธรรมนูญ
-- พฤติกรรมที่น่ารังเกียจของบุคคลในกระบวนการยุติธรรมคือ ไม่กระฉับกระเฉงในการทำงาน ขึ้กลัว ชอบประจบ - คณิต ณ นคร ซึ่งทำให้มีกำหนดฝ่ายตุลาการ "การนั่งพิจารณาต่อเนื่อง ให้พิจารณาคดีให้เร็วขึ้น"
-๒.๒ ปัญหาทางการเมืองและนักการเมือง
-- เป็นเรื่องการแสวงหาประโยชน์ให้แก่ตนเองและพวกพ้อง ซึ่งมีทุกรัฐบาล มีการวิจัยว่า การโกงกินในรัฐบาลทหารมีมากกว่ารัฐบาลประชาธิปไตย
-- การเมืองของ ๒ ขั้ว ๒ ฝ่าย ฝ่ายที่เป็นกลุ่มอำนาจเก่าและกลุ่มอำนาจใหม่
-- ทฤษฏี "ใบสั่ง" เป็นทฤษฏีการบังคับใช้กฎหมายแบบใหม่ คือ สั่งอย่างไรก็ปฏิบัติอย่างนั้น ไม่สนใจถึงความถูกต้องของกฎหมาย เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นในประเทศไทย โดยไม่ใช้หลักการ
-- ถ้ายึดอำนาจเมื่อไร กฏหมายมหาชนก็พังเท่านั้น นอกเหนือจาก
-๒.๓ ปัญหาประชาชนไทยติดอยู่ในระบบอุปถัมถ์
-๒.๔ ปัญหาประขาชนไทยไม่มีความรู้ความเข้าใจ อาจารย์ยกอย่างมาตรา ๖๙ คนไทยต่างจากประเทศตะวันตก แต่ตั้งเดิมสิทธิของคนไทย หมายถึงการได้รับสิทธิจากking เพราะฉะนั้นคนไทยจึงใช้สิทธิเสรีภาพอย่างเต็มที่
-๒.๕ ปัญหาการตีความของศาลและของนักกฎหมาย
-- ศาลรัฐธรรมนูญตีความกฎหมายเกินขอบอำนาจ
-- มีข้อเท็จจริงเรื่องหนึ่งๆ จะแตกต่าง ซึ่งมีนิติวิธีเฉพาะเรื่อง การตีความต้องอาศัยหลักการตีความของหลักกฎหมายมหาชน
-- ตัวอย่าง การให้ รมว.มหาดไทย ไปลงนามในเรื่อง เขาพระวิหาร กับกัมพูชา ... ซึ่งมีการปรับเปลี่ยนองค์คณะที่พิจารณาคดีในศาลปกครอง
-๒.๖ ปัญหากระบวนการคัดเลือกบุคลากรที่เข้าทำงานในศาลที่พิจารณาปัญหาทางกฎหมายมหาชน
-๒.๗ ปัญหาการนำนิติวิธีทางกฎหมายเอกชนมาใช้ในการหาข้อยุติในปัญหากฎหมายมหาชน
@@ปัญหาที่เกิดจากการ
๑. ปัญหาเกิดจากการปฏิวัติ รัฐประหาร
๒. ปัญหาจากการอุปถัมภ์
๓. ปัญหาความไม่เข้าใจหลักการแบ่งแยกอำนาจ
๔. ปัญหาการไม่นำนิติวิธีทางกฎหมายมหาชนไปใช้ในการวินิจฉัยคดี
๕. ปัญหาการคัดเลือกบุคคลเข้าไปทำหน้าที่ตุลาการศาลรัฐธรรมนุญ ศาลปกครอง - ไม่ได้มีการนำเอาผู้ที่มีความรู้ทางกฎหมายมหาชนเข้าไป ไม่มีความเข้าใจในเรื่องกฎหมายมหาชนทำให้ตัดสินคดีมีปัญหา เช่น กรณีหวยบนดิน , กรณี กกต.หันคูหาออก
๖. ปัญหาของการเมือง
-รธน.๕๐ มุ่งในเรื่อง กำจัดคู่แข่งทางการเมือง การทำให้การปฏิวัติรัฐประหารเป็นไปโดยชอบด้วยกฏหมาย
๗. ปัญหาการจัดการเรียนการสอน หลักสูตร
๘. ปัญหาการใช้อำนาจขององค์กรอิสระ
๙. ปัญหาความเข้าใจในเรื่องสิทธิเสรีภาพของประชาชน
๑๐.ปัญหาคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ บางคดีไม่อาจใช้เป็นบรรทัดฐานทางวิชาการได้ ตัวอย่างคดียุบพรรค ม.๑๙๐ เป็นสนธิสัญญา หรือไม่เป็นสนธิสัญญา

@@ปัญหาการพัฒนา"สังคมรัฐไทย"
๑) เศรษฐกิจ
๒) สังคม - ระบบอุปถัมภ์,ปัญหายาเสพติด,ปัญหาความยากจน,ปัญหาคนไม่มีคุณภาพ , ปัญหาความแตกแยก , ความไร้วินัย
๓) การเมือง - ปัญหาการเมือง
- การทำคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญต้องมีอะไรบ้าง กรณีมีคำสั่งให้รอการลงมติวาระ ๓ ดังกล่าวไม่ได้เป็นไปตาม รธน.
- งานวิจัย "ทหาร การเมือง การคอรับชั่น" - รัฐบาลทหารเป็นใหญ่ มีโอกาสคอรับชั่นสูงสุดเพราาะการกระจุกตัวของอำนาจมีสูง และไม่ต้องแบ่งกับใคร ยุคประชาธิปไตยอัตราการคอรับชั่นอยู่ในเกณฑ์ที่ต่ำกว่า"
- กลุ่มทุนเก่า ในกรุงเทพมหานคร กลุ่มศักดินาไม่เคยหันไปดูแลประชาชนในต่างจังหวัด , กลุ่มทุนใหม่อยู่ในต่างจังหวัด
- กลุ่มทุนใหม่ Alternative and Liberal
- เป็นความขัดแย้งระหว่างกลุ่มทุน
๔) วิทยาศาสตร์
- รายการ "ฉลาดสุดๆ"
-ปรัชญาในด้านดุลยภาพ (เป็นส่ิงที่อาจารย์เน้นมาก) เพื่อประโยชน์ของสาธารณะ

--------------
ทำรายงานกลุ่ม กลุ่มละ ๒๐ นาย ทั้งหมด ๗ กลุ่ม
๑. ปัญหารัฐธรรมนูญไทย และปัญหาการแก้ไขรัฐธรรมนูญ
๒. ปัญหาคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ มาตรา ๖๘
๓. ปัญหากระบวนการยุติธรรมสองสามารถฐาน (Double Standard)
๔. ปัญหาการสรรหาสมาชิกวุมิสภา ตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ.๒๕๕๐
๕. ปัญหาการใช้อำนาจของนายกรัฐมนตรีตาม พระราชกำหนด
๖. ปัญหาการใช้อำนาจขององค์กรอิสระ คณะกรรมการ ปปช.
๗. ปัญหาคำวินิจฉัยศาลปกครองคดี ๙๘๔/๒๕๕๐
-------------------------------------------------------------------------------------------

@@ดุลยภาพระหว่างองค์การที่ใช้อำนาจมหาชน
-การให้ความสำคัญกับประโยชน์สาธารณะมากเกินไป
-การให้ความสำคัญกับสิทธิและเสรีภาพมากเกินไป
-การให้ความสำคัญกับประโยชน์สาธารณะมากเกินไป - แม้ว่าจะเพื่อประสิทธิภาพของฝ่ายปกครองหรือเพื่อความรวดเร็ซในการดำเนินการ ผลที่เกิดตามคือ กฎหมายมหาชนจะกลายเป็นเอกสิทธิ์ของฝ่ายปกครอง อาจจะนำไปสู่การเป็น "รัฐตำรวจ" โดยการออกกฏหมายทางปกครอง
-การให้ความสำคัญกับสิทธิและเสรีภาพมากเกินไป - การดำเนินการบริหารรัฐกิจของรัฐและฝ่ายปกครองเเพื่อประโยชน์สาธารณะจะติดขัดหรือดำเนินการได้อย่างยากลำบาก หรือต้องใช้รายจ่ายจากงบประมาณจำนวนมาก
@@ประเภทของนิติบุคคล
๑.นิติบุคคลตามกฎหมายเอกชน
๒.นิติบุคลตามกฎหมายมหาชน เป็นไปโดยผลของกฎหมาย ได้แก่ กระทรวง ทบวง กรม รัฐวิสากิจและวัดวาอาราม ฯลฯเป็นต้น
(ลักษณะการบอยคอตการเลือกตั้งพรรคประชาธิปัตย์ - ศาลรัฐธรรมนูญไม่ยุบพรรคการเมือง รัฐธรรมนูญ พ.ศ.๒๕๔๐ มาตรา ๓๒(๒) การตีความของศาลรัฐธรรมนูญ ตีความเพื่อเอื้อประโยชน์แก่พวกพ้องของตนเอง)
-ประเภทของนิติบุคคล
-นิติบุคคลตามกฎหมายมหาชนฝรั่งเศส / ไทย
-นัยยะสำคัญ นิติบุคคลตามกฎหมายมหาชน มีสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมายมหาชน
ส่วนนิติบุคคลตามกฎหมายแพ่ง : มีสิทธิและหน้าที่ตามที่บัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์กำหนดเอาไว้
(@@อำนาจรัฐ
-ประการแรก อำนาจรัฐเป็นอำนาจแห่งการตัดสินใจ
-ประการสอง อำนาจรัฐเป็นอำนาจทางพลเรือน - อำนาจทางพลเรือนอยู่เหนืออำนาจทางทหารได้ เป็นผลจากวิวัฒนาการอันยาวของระบอบการปกครองของรัฐตะวันตก
-ประการสาม อำนาจรัฐเป็นอำนาจในทางราชอาณาจักร)
@@ประโยชน์ของสาธารณะ
-ความต้องการของบุคคลแต่ละคนจำนวนมากที่ต้องการตรงกัน จนเข้าลักษณะความต้องการของคนส่วนใหญ่ในสังคม
-องค์กรที่จะชี้ได้ว่าอะไรเป็นประโยชน์สาธารณะหรือไม่นั้น ถือว่า ได้แก่ รัฐสภา ฯลฯ
@@แนะนำให้อ่าน "นิติศาสตร์ต้องเป็นธรรม" -รศ.ดร.ภูริชญา วัฒนรุ่ง
@@แนวปรัชญา กม.มหาชน แตกต่างจาก กม.เอกชน
๑.ปรัชญากฎหมายแพ่งซึ่งเป็นกฎหมายมหาชน ตั้งอยู่หลักความเสมอภาคเท่าเทียมกันของคู่กรณีและหลักความศักดิ์สิทธิแห่งเจตนาและเสรีภาพในการทำสัญญา
๒.ปรัญชาของกฎหมายอาญา คือ สมดุลระหว่างโทษของผู้กระทำความผิดกับความสงบเรียบร้อยของสังคม
๓.ปรัชญากฎหมายกฎหมายมหาชน ได้แก่ การประสานดุลยภาพระหว่าง "ประโยชน์สาธารณะ" ซึ่งเป็นประสิทธิภาพในการบริหารงานของรัฐระหว่าง"ประโยชน์สาธารณะ" ซึ่งเป็นประสิทธิภาพในการบริหารงานของรัฐ กับ "การคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของเอกชน" ซึ่งเป็นประโยชน์ส่วนตัวของ
@@ ๑.
๒.ฝ่ายปกครองมีหน้าที่ต้องดำเนินการจัดทำประโยชน์เพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชน
๓.การเป็นกฎหมายที่ไม่เสมอภาค รัฐสามารถบังคับได้
-ความไม่เสมอภาคปรากฏในลักษณะของ "เอกสิทธิ์ของฝ่ายปกครอง" เหนือราษฏร เช่น การออกกฏเกณฑ์ทางกฎหมาย
-กฎหมายมหาชนเป็นกฎหมายที่มีลักษณะบังคับ
-ความไม่เสมอภาคอาจปรากฏในรูปของสัญญาทางปกครอง สัญญาส่วนต่างๆของสัญญาทางปกครอง
@@เอกสิทธิ์ของฝ่ายปกครอง
-รัฐหรือฝ่ายปกครองมมีิสทธิอำนาจในการกระทำไปได้ก่อนแต่ฝ่ายเดียวโดยอาศัยอำนาจตามกฎหมาย เช่น การออกกฏหรือคำสั่ง
-ทั้งนี้ไม่ต้องมีความสมัครใจยินยอมของคู่กรณี
@@การเป็นกฎหมายที่ใช้ในการปฏิรูป
-กฎหมายมหาชนเป็นกฏหมายเกี่ยวกับอำนาจรัฐ
-การปฏิรูปเป็นการปรับเปลี่ยนของเดิมที่มีอยู่ให้เหมาะสม
-การปฏิรูปการเมิืองการปกครอง เป็นการกระทำโดยอาศัยอำนาจรัฐ ที่ถือว่าเป็นอำนาจสูงสุดเหนืออำนาจอย่างอื่นภายในรัฐ , การปฏิรูปเป็นการทำให้ดีขึ้น ไม่เหมือนกับการปฏิวัติ
-การปฏิรูปกระทำโดยอาศัยอำนาจแห่งกฎหมาย
@@การปฏิรูปการเมืองการปกครองในประเทศไทย
-การปฏิรูปโครงสร้างอำนาจและระบบการเมืองการปกครองในรัชสมัยพระบรมไตรโลกนารถ
-การปฏิรูปครั้งใหญ่ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕
-การปฏิรูประบอบการปกครอง พ.ศ.๒๔๗๕
-การปฏิรูปการเมืองตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.๒๕๔๐ ถือว่าเป็นการปฏิรูปการเมืองครั้งใหญ่ของไทย
@@
@@
















































































JACKIE.......
พันตำรวจโทจักรกฤช ชูคง
รอง ผกก. ฝ่ายปกครอง ๑ บก.ปค.

วันจันทร์ที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2555

#######แจ้งประชาสัมพันธ์ ชีพPowerPointของ ดร.สงขลาครับ มี 2 ส่วนนะครับ######

ไฟล์ส่วนที่ 1

http://www.mediafire.com/file/b79s9606pt19ey9/ชีทกฏหมายปกครองชั้นสูง_ดร.สงขลา_วิชัยขัทคะ_ส่วนที่_1.PDF


ไฟล์ส่วนที่ 2

http://www.mediafire.com/file/a30kd4bx15ky73d/ชีทกฏหมายปกครองชั้นสูง_ดร.สงขลา_วิชัยขัทคะ_ส่วนที่_2.PDF


เพื่อนๆลองดาวน์โหลดดูได้นะครับ

อีกอย่างหนึ่งมีFacebook รุ่นเราแล้วนะครับ  ลองหาคำว่า  "ปริญญาโทนิติรุ่น12" ครับ

KIJBODI MODEL NO2-3 และ พรบ.การเช่าอสังหาริมทรัพย์ฯ ที่สอนไปวันที่ 8-9 มิ.ย.ครับ


วันอาทิตย์ที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2555

วิธีค้นคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลปกครองสูงสุดในเวปของศาลปกครอง (ทำรายงานอาจารย์กิจบดีครับ)

สำหรับเพื่อนๆ เลขที่ ๕๑-๑๔๗ ครับ
๑. ให้เข้าไปที่เวปไซด์ http://court.admincourt.go.th/ordered/Default.aspx
๒. แล้วกดที่ "ค้นหาขั้นสูง"
๓. กรอกหมายเลขที่ที่เราต้องการ (อาจารย์ท่านกำหนดให้เป็นเลขลำดับที่ในห้องเรียนของเรา)ในช่องแรก(ดังภาพ)
๔. กรอก พ.ศ.ในช่องต่อมาครับ (เร่ิมจาก ปี2555 ก่อนครับ ถ้าไม่มีก็เป็น 2554 หรือ 2553 ลดลงมาเรื่อยๆเดี๋ยวก็เจอครับ)
๔. จากนั้นก็กดค้นหาด้านล่างครับ ก็จะได้ดาว์นโหลดทั้ง เป็นไฟล์ WORD หรือ PDF ครับ

รายชื่อ เพื่อนๆ หัวหน้ากลุ่มย่อยจำนวน ๗ กลุ่มของ โทนิติรามบางนารุ่น ๑๒ ห้อง ๑

รายชื่อ เพื่อนๆ หัวหน้ากลุ่มย่อยจำนวน ๗ กลุ่มของ โทนิติรามบางนารุ่น ๑๒ ห้อง ๑
กลุ่มที่ ๑ เลขที่ ๑ - ๒๐ -นายนิธิชัย ค้ำชู
กลุ่มที่ ๒ เลขที่ ๒๑-๔๐ -นายพงศกร เชยสอาด
กลุ่มที่ ๓ เลขที่ ๔๑-๖๑ -ว่าที่ ร.ต.โฆษิต จันทราธิคุณ
กลุ่มที่ ๔ เลขที่ ๖๒-๘๒ -น.ส.ศิริเพ็ญ ณ นคร
กลุ่มที่ ๕ เลขที่ ๘๓-๑๐๓ -นายจักรพันธ์ พุทธวงศ์
กลุ่มที่ ๖​ เลขที่ ๑๐๔-๑๒๔ -นายชาญวิทย์ กันยา
กลุ่มที่ ๗ เลขที่ ๑๒๕-๑๔๕ -นายจักรพันธ์ รักพงษ์พันธ์







JACKIE.......
พันตำรวจโทจักรกฤช ชูคง
รอง ผกก. ฝ่ายปกครอง ๑ บก.ปค.

วันเสาร์ที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2555

คำสั่งรายงาน วิชาปรัชญาและหลักกฎหมายมหาชน อ.กิจบดีฯครับ

คำสั่งรายงาน วิชาปรัชญาและหลักกฎหมายมหาชน อ.กิจบดีฯครับ
๑. ให้นักศึกษาลำดับที่ ๑ - ๕๐ ไปหา คำพิพากษา หรือ คำสั่งของศาลรัฐธรรมนูญ ปีล่าสุด ถ้าไม่มีให้ใช้ปีต่อๆไป หมายเลขคดีแดงตามลำดับเลขที่ของตนแล้วดำเนินการดังต่อไปนี้
๑.๑ ย่อคำพิพากษาหรือคำสั่งกล่าวให้เหลือ ๑ หน้า กระดาษ A4
๑.๒ ในคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้น มีกฎหมาย กฏ อะไรเข้ามาเกี่ยวข้องบ้าง เข้ามาเกี่ยวข้องเรื่องอะไร
๑.๓ ใครเป็นผู้ใช้อำนาจตามความหมายนั้น ใช้อำนาจอะไร
๑.๔ เกิดกรณีพิพาทเกี่ยวกับเรื่องอะไร และศาลตัดสินว่าอย่างไร
๑.๕ ศาลใช้หลักอะไรบ้าง ในการตัดสินคดี
๑.๖ วิเคราะห์ว่า การพิพากษาตัดสินคดีหรือยกฟ้องในคดีนั้น เป็นไปตามปรัชญาและหลักกฎหมายมหาชนหรือไม่อย่างไร
๒. ให้นักศึกษาลำดับที่ ๕๑ - ลำดับสุดท้าย ไปหาคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลปกครองสูงสุดปีล่าสุดถ้าไม่มีให้ใช้ปีต่อๆไป หมายเลขคดีแดงตามลำดับเลขที่ของตน แล้วดำเนินการตามข้อ ๑.๑ ถึง ๑.๖
๓. เรื่องอื่นให้ดำเนินการตามข้อความดังต่้อไปนี้
๓.๑ ความยาวของรายงานไม่จำกัดหน้า แต่ต้องครบถ้วนชัดเจน มีกฎหมายและหลักกฏหมายอ้างอิงประกอบ
๓.๒ การวิเคราะห์ควรมีหลักกฏหมายอ้างอิง มีข้อมูลและอ้างอิงให้ถูกต้องตามวิธีการอ้างอิง ไม่จำกัดอยู่แต่ในเนื้อหาที่เรียนควรค้นคว้าเพิ่มเติม เพราะการทำรายงานมีเจตนาให้นักศึกษาได้ค้นคว้า จึงไม่ควรจำกัดแต่ในเนืื้อหาที่เรียน
๓.๓ ไม่ต้องเข้าเล่มหรือทำปกแข็ง ให้ใช้กระดาษA4 สีขาวปกติทำปกและใช้เย็บมุม
๓.๔ ส่งวันศุกร์ที่ ๒๒ มิถุนายน ๒๕๕๕ ก่อนเข้าเรียน
๓.๕ ให้ทำรายงานมา ๒ ชุด








JACKIE.......
พันตำรวจโทจักรกฤช ชูคง
รอง ผกก. ฝ่ายปกครอง ๑ บก.ปค.